Skip to:

ประวัติส่วนตัว

Profile in English

การศึกษาและประสบการณ์การทำงาน

  • 2560-ปัจจุบัน    ภาคีสมาชิกของสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีนานาชาติ อับดุล ซาลาม (Abdus Salam international centre for theoretical physics, ICTP), เมืองเทรียส, ประเทศอิตาลี
  • 2558-ปัจจุบัน   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 2550-ปัจจุบัน   อาจารย์ฝ่ายวิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
  • 2548-ปัจจุบัน   อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
  • 2542-2548     ปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์  ทางด้านชีวฟิสิกส์เชิงทฤษฎีและเชิงคำนวณ กับ Prof. Klaus Schulten  จากมหาวิทยาลัยอิลลินอย วิทยาเขตเออบานา-แชมเปน ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • 2538-2542     ปริญญาตรีควบโท (เกียรตินิยม) สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

 

รางวัลและผลงาน

  • 2560-2565    ภาคีสมาชิกรุ่นกลาง (Regular associate) ของสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีนานาชาติ อับดุล ซาลาม ( Abdus Salam international centre for theoretical physics, ICTP), เมืองเทรียส (Trieste), ประเทศอิตาลี (Italy)
  • 2557-2558    อาจารย์ผู้สอนฟิสิกส์ดีเด่น  (ลงคะแนนโดยนิสิตภาคฟิสิกส์ชั้นปีที่สี่)
  • 2534-2548     รับทุนการศึกษาจากโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) โดยได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศระดับปริญญาตรี โท และเอก ตั้งแต่ปี 2537
  • 2537               เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับนานาชาติ ณ ประเทศจีน

 

งานวิจัย ผลงานวิจัยตีพิมพ์ และหนังสือ

       ผมมีความสนใจทำงานวิจัยเชิงชีวฟิสิกส์เพื่อศึกษากลไกเชิงฟิสิกส์ระดับนาโนของโมเลกุลทางชีวภาพ ผมมีความเชื่อว่าอนาคตของฟิสิกส์ระดับนาโนและนาโนเทคโนโลยีนั้นซ่อนอยู่ในความเข้าใจชีววิทยาระดับโมเลกุล ผมรู้สึกทึ่งกับการที่ได้เห็นว่าโมเลกุลทางชีวภาพมีความสามารถที่จะควบคุมการเคลื่อนที่อะตอมและโมเลกุลได้อย่างเหลือเชื่อ ดังนั้นผมจึงพยายามที่จะทำความเข้าใจว่าโมเลกุลเหล่านี้ทำอย่างนั้นได้อย่างไร ผมพบว่าการศึกษาระบบโมเลกุลเหล่านี้ด้วยฟิสิกส์และคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้เราเข้าใจโมเลกุลเหล่านี้ ปัจจุบันผมกำลังทำงานวิจัยในหัวข้อต่อไปนี้

  • กลไกการนำไฟฟ้าและการฆ่าเซลล์เม็ดเลือดขาวของโปรตีนสารพิษก่อโรคไอกรน CyaA จากแบคทีเรีย Bordetella Pertussis
  • กลไกการฆ่าลูกน้ำยุงโดยการทำให้เกิดรูรั่วนาโนของโปรตีน Cry4Aa toxin จากแบคทีเรีย Bacillus Thuringiensis
  • กลไกการจับโมเลกุลไขมันที่มีประจุของโปรตีน Annexin A5 ด้วยไอออนแคลเซียม
  • กลไกการหมุนของชีวนาโนมอร์เตอร์แบบหมุนของโปรตีน ATP synthase
  • กลไกการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของน้ำรอบๆโปรตีนและ membrane

ห้องวิจัยของเราตั้งอยู่ที่ห้อง 451, ชั้น 4, ตึกวิทยาศาสตร์กายภาพ (วิทย์ 45 ปี) เราแชร์พื้นที่ห้องวิจัยกับกลุ่มวิจัยฟิสิกส์ของวัสดุเชิงคำนวณ

ผลงานวิจัยตีพิมพ์และหนังสือ

2022

1. Thamwiriyasati, N., Kanchanawarin, C., Imtong, C., Chen, C., Li, H., Angsuthanasombat, C. (2022) Complete structure elucidation of a functional form of the Bacillus thuringiensis Cry4Ba delta-endotoxin: Insights into toxin-induced transmembrane pore architecture, BBRC, 620, p.158-164. [IF=3.322]

2017

  1. Kurehong, C., Kanchanawarin, C., Powthongchin, B., Prangkia P., Katzenmeier, G., and Angsuthanasombat, C. (2017) Functional Contributions of Positive Charges in the Pore-Lining Helix 3 of the Bordetella pertussis CyaA-Hymolysin to Hemolytic Activity and In Channel Opening, Toxins, 9(3), 109. [IF=3.571]
  2.  Kanchanawarin, C. , and Angsuthanasombat, C. a chapter in the book "Computational design of chemicals for the control of mosquitoes and their diseases" by James Devillers (ed), CRC Press, 2017. 

2015

  1. Kurehong, C., Kanchanawarin, C., Powthongchin, B., Katzenmeier, G., and Angsuthanasombat, C. (2015) Membrane-pore formation characteristics of the Bordetella pertussis CyaA-Hymolysin Domain, Toxins, 7(5) p1486-96. [IF=3.571]
  2. Sriwimol, W. Aroonkesorn, A.Sakdee, S., Kanchanawarin, C. Uchihashi, T., Ando, T., and Angsuthanasombat, C. (2015) Potential Pre-pore Trimer Formation by the Bacillus thuringiensis Mosquito-Specific Toxin: Molecular Insights into a Critical Prerequisite of Membrane-Bound Monomers, JBC, 290, p.20793-803. [IF=4.57]

2014

  1. Imtong, C., Kanchanawarin, C., Katzenmeier, G., and Angsuthanasombat, C. (2014) Bacillusthuringiensis Cry4Aa insecticidal protein: functional importance of intrinsic stability of the unqique α4–α5 loop comprising the Pro-rich sequence. BBA Proteins and Proteomics, 1844(6) p.1111-8. [IF=2.75]
  2. Juntadech, T., Kanintronkul, C., Kanchanawarin, C., Katzenmeier, G.,  and Angsuthanasombat, C. (2014). Importance of polarity of the α4–α5 loop residue - Asn166 in the pore-forming domain of the Bacillus thuringiensis Cry4Ba toxin: Implication for ion premeation and pore opening. BBA Biomembranes, 1838(1), p.319-327. [IF=3.74]

2013

  1. Srikongrug, Sand Kanchanawarin C.  (2013)  The study of structure and dynamics of water molecules around phospholipid bilayer using molecular dynamics methods. Siam Physics Congress 2013 Proceedings.

2010

  1. Taveecharoenkool, TAngsuthanasombat CKanchanawarin C.  (2010)  Combined molecular dynamics and continuum solvent studies of the pre-pore Cry4Aa trimer suggest its stability in solution and how it may form pore. PMC Biophysics. (now called BMC Biophysics) 3(10). [IF=2.89]

 

งานสอนและงานในภาควิชาฟิสิกส์

       ผมชอบสอนหนังสือและสนุกกับมัน ผมมีความสนใจในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการสอนฟิสิกส์เสมอมา โดยตั้งแต่ปี 2548 ผมสอนวิชาเหล่านี้

วิชาป.ตรี

วิชาป.โทและเอก

งานในภาควิชาฟิสิกส์

  • อาจารย์ผู้ดูแลหล้กสูตรฟิสิกส์ ป.โท และ ป.เอก (2555-2558)

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในด้านงานวิจัยกรุณาดูที่ My Research Group Page